13 แขวง 9 เขตกทม. เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
แขวงสายไหม และ แขวงคลองถนน เขตสายไหม
แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
แขวงจระเข้บัว และ แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม
แขวงคลองจั่น และ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง
แขวงคลองสองต้นนุ่น และ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
****และบริเวณปริมณฑล ได้แก่ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรปราการ และจ.ฉะเชิงเทรา
จึงเตือนประชาชนเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม และหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่มีน้ำท่วมขัง รวมทั้งติดตามข่าวสถานการณ์น้ำท่วม และระดับน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน ตลอดจนเตรียมย้ายที่อยู่ชั่วคราว
จับตาโซนวิกฤตกทม.13 เขต 27 ชุมชน น้ำท่วม!!!
-เขตบางซื่อ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนพระราม 6 (ฝั่งติดแม่น้ำ) และชุมชนปากคลองบางเขนใหม่
-เขตดุสิต มี 5 ชุมชน คือ ชุมชนเขียวไข่กา (ถ.เขียวไข่กาช่วงปลาย) 20 ครัวเรือน ชุมชนราชผาทับทิมร่วมใจ(เชิงสะพานกรุงธน) ชุมชนซอยสีคาม (ซอยสามเสน 19 ช่วงปลาย) ชุมชนปลายซอยมิตรคาม(ซอยสามเสน 13 ช่วงปลาย)และชุมชนวัดเทวราชกุญชรฯ (ถ.ศรีอยุธยาช่วงปลาย)
-เขตพระนคร มี 3 ชุมชน คือ ชุมชนท่าวัง ชุมชนท่าช้าง และชุมชนท่าเตียน
-เขตสัมพันธวงศ์ มี 2 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปทุมคงคา(ท่าน้ำสวัสดี) และชุมชนตลาดน้อย
-เขตบางคอแหลม มี 4 ชุมชน คือ ชุมชนวัดบางโคล่นอก ชุมชนหน้าวัดอินทร์บรรจง ชุมชนซอยมาตานุสรณ์ และชุมชนหลังร.พ.เจริญกรุงประชารักษ์
-เขตยานนาวา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนโรงสี (ถ.พระราม 3)
-เขตคลองเตย มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนสวนไทรริมคลองพระโขนง
-เขตบางพลัด มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนวัดฉัตรแก้ว
-เขตบางกอกน้อย มี 4 ชุมชน คือ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ชุมชนปากคลองน้ำตาล-คลองพิณพาทย์ ชุมชนตรอกวังหลังและชุมชนดุสิต-นิมิตรใหม่
-เขตธนบุรี มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนปากคลองบางกอกใหญ่
-เขตคลองสาน มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนเจริญนครซอย 29/2
-เขตราษฎร์บูรณะ มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนดาวคะนอง
-เขตทวีวัฒนา มี 1 ชุมชน คือ ชุมชนวัดปรุณาวาส
ที่มา : มติชนออนไลน์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. ได้กล่าวถึง 5 มาตรการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำล้นทะลักเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า
มาตรการที่ 1 สั่งการให้นำกระสอบทรายจำนวน 200,000 ใบ จากจำนวนที่จะปฏิบัติการได้ 4,000,000 ใบ อุดจุดฟันหลอทุกจุดตามแนวเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยานอกแนวคันกั้นน้ำ ตลอดแนวสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของเขต กทม.
มาตรการที่ 2 นำกระสอบทรายไปเสริมแนวคันกั้นน้ำให้สูงขึ้นตามจุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ อาทิ ชุมชนริมแม่น้ำในเขตบางกอกน้อย บางพลัด และดุสิต
มาตรการที่ 3 ประสานกับทางกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อปล่อยน้ำจากเขื่อนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดโอกาสการเกิดน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด ซึ่งจุดนี้เป็นจุดสำคัญที่จะช่วยป้องกันเพราะน้ำที่ไหลลงมามีปริมาณมาก
มาตรการที่ 4 ได้มีการสร้างสะพานและทางเดินชั่วคราว โดยจะครอบคลุม 27 ชุมชน ในพื้นที่ 13 เขตเสี่ยงน้ำท่วม
มาตรการที่ 5 เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำขนาด 4 - 20 นิ้ว จำนวนกว่า 1,065 เครื่อง ติดตั้งไว้ในจุดสำคัญต่างๆ และพร้อมใช้งานทันทีหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
ทั้งนี้กทม.ได้จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือ หน่วย BEST และเจ้าหน้าที่เทศกิจประจำจุดเสี่ยง พร้อมยานพาหนะ และอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ที่พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง และยังได้เตรียมถุงยังชีพ เวชภัณฑ์ และเครื่องอุปโภคบริโภค หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งประสานวัด โรงเรียน มัสยิด ในพื้นที่จุดเสี่ยงทั้ง 13 เขต เพื่อรองรับประชาชนกรณีจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากที่อยู่อาศัย โดยเจ้าหน้าที่สำนักป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและสำนักเทศกิจจากเขตต่างๆ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนเคลื่อนย้ายทรัพย์สินไว้ในที่ปลอดภัย แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่พี่น้องประชาชนชาว กทม.จะช่วยกันทำได้ คือ ขอให้พี่น้องประชาชนหมั่นตรวจตรา และทำความสะอาดไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง ขยะ หรือสิ่งอุดตันท่อระบายน้ำบริเวณหน้าบ้านของตนเอง เพื่อไม่กีดขวางการระบายน้ำ
การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ
การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้
1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ
3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย แบตเตอรี่สำรอง และยาสามัญประจำบ้าน รวมทั้งยาสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้
6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย
9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
11. เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ
ถ้าคุณคือพ่อแม่ : |
· ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ · ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น · ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่ · เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ · จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน · ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน |