วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

update!!!! น้ำท่วมเขตบางเขน

สถานการณ์ น้ำท่วม เขตบางเขน

              น้ำท่วมพื้นที่เขตบางเขน ครั้งนี้แผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง ลึกบ้าง ต่ำบ้าง และบางที่ก็ยังแห้งอยู่ขึ้นอยู่กับความสูงต่ำของที่ตั้ง อีกทั้งหากที่ติดคลองหรือ ลำราง ยิ่งได้รับผลกระทบสูง ที่ไม่ได้ติดคลองหรือลำราง น้ำก็จะเอ่อล้นท่อระบายน้ำออกมา ทั้งนี้รัฐบาล และ กรุงเทพมหานคร จะพยายามไม่ให้น้ำสูงเกินกว่า 1 เมตร จึงขอให้ประชาชนที่อยู่ในจุดเสี่ยง เช่น บ้านชั้นเดียว และ บ้านติดริมคลอง ที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ให้ย้ายไปอยู่ในสถานที่พักพิงชั่วคราวที่ทางราชการประกาศไว้ โดยให้สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางเขน โทร 02 521 0666 ต่อ 5886

 สถานการณ์น้ำถนนพหลโยธิน สะพานใหม่ - วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
 
รถโดยสาร รถทหาร วิ่งรับ-ส่งได้อยู่
 
วันนี้มีรถบรรทุกสินค้า "ธงฟ้า" มาจำหน่ายหน้าตลาดยิ่งเจริญ

บ้านเรือนริมคลองหนองผักชี ฝั่งตรงข้ามตลาดยิ่งเจริญ เป็นที่ต่ำ
ระดับน้ำประมาณเอว 7-11 ปิดบริการแล้วค่ะ
 
แนวป้องกันร้านค้าฝั่งตรงข้าม Big C

Big C ยังเปิดบริการ ทำท่ารถยื่นลงไปบนถนนที่มีระดับน้ำสูง
 
หน้าวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน น้ำแผ่เป็นบริเวณกว้าง
 
เด็กเล่นน้ำบริเวณวัดพระศรีฯ




วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ม.เกษตรฯ บางเขน มีน้ำดื่มสะอาดไว้บริการ

          

              ประชาชนที่อยู่ใกล้ ม.เกษตรฯ บางเขน สามารถติดต่อขอรับน้ำดื่มได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ที่..."กรมทรัพยากรน้ำบาดาล" ซ.คุณหญิงพหลฯ (งามวงศ์วาน 54)   ตรงข้ามประตู 1 ม.เกษตรฯ 
     โดยนำภาชนะมาสำหรับบรรจุน้ำดื่มเองนะคะ  ติดต่อขอรับน้ำดื่มฟรี หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ... 
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โทร. 0-2299–3900, 0-2299–3933

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม


                          ในยามเกิดภัยพิบัติ สิ่งที่เราต้องกลับไปเรียนรู้ใหม่เลยก็คือ ทำอย่างไรให้เอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ที่ไม่มี น้ำประปา ไฟฟ้า หลักการเดียวกับวิชาลูกเสือหรือไปเดินป่าแบบนั้น  เรื่องจำเป็นอีกอย่างคือการอุ่นอาหาร หรือต้มน้ำ ในเมื่อไม่มีไฟฟ้า ไม่มีแก๊ส แล้วจะทำอย่างไร วันนี้เราจึงมี DIY ง่ายๆเพื่อเอาชีวิตรอดในยามคับขันอีกอย่างมาให้เรียนรู้กันไว้ค่ะ เตรียมตัวไว้ให้พร้อม
                       ..เราจะมาดูวิธีทำ เตาจากแอลกอฮอลล์กันค่ะ เป็นแอลกอฮอลล์แบบเดียวกับที่ไว้เช็ดแผลนั่นแหละ เรียกว่าเอ็ททิลแอลลกอฮอลล์ แอลกอฮอลล์มี 2 ชนิด เอททิล กับเมททิล ที่จริงใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แต่เราไม่อยากแนะนำให้ใช้เมททิลเพราะมีอันตรายมากกว่า โดนตาแล้วตาบอดได้ ใช้เอททิลปลอดภัยกว่าเก็บไว้ในบ้านก็ไม่มีอันตรายโดนผิวได้ ใช้เช็ดทำความสะอาดได้ด้วย มาเริ่มกันเลยนะคะ

DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Mini Alcohol Stove

สิ่งที่ต้องการก็มี
          1. กระป๋องน้ำอัดลมเปล่า (Aluminium cans)  2 ใบ
          2. เส้นใยไฟเบอร์กลาส ที่ใช้ในการยัดตุ๊กตา หรือเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน
          3. กรรไกร
          4. กระดาษทราย

          5. ไม้บรรทัด
          7. มีดคมๆ
          8. หมุดติดบอร์ด


DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 1

ก่อนอื่นคงต้องทำความวะอาดกระป๋อง เทของออกให้หมด
DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 2

เอาปากกาวาดตำแหน่งที่เราจะตัด ให้อยู่สูงจากก้นกระป๋อง 1 นิ้ว
DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 3


แล้วลงมือตัดเลยค่ะทั้ง 2 กระป๋อง
DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 4


หลังจากนั้นก็จะขัดสีออกกระป๋องใบที่จะอยู่ด้านนอก
DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 6

                        เราจะทำการแต่งขอบของกระป๋องใบที่จะอยู่ด้านใน เพื่อให้ใบนอกสวมปิดได้ ตามที่เห็นในภาพนะคะ หลังจากนั้น เราก็จะใส่ไฟเบอร์กลาสเข้าไปในกระป๋องใบที่ไม่ได้ขัดสี ตามภาพค่ะ

DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 8

                           เสร็จแล้วก็นำเอากระป๋องใบที่ขัดสีไว้สวมทับลงไปค่ะ เอาให้ปิดสนิท แล้วก็เจาะรูโดยรอบ แนะนำว่า 8 รูโดยรอบ และ 1 รูตรงกลางนะคะ เมื่อจะใช้งาน ก็ใส่แอลกอฮอลล์ลงไปในรูตรงกลางค่ะ  วิธีจุดไฟให้จุดไฟโดยอุ่นที่ก้นกระป๋องก่อนแล้วจึงจุดไฟตรงกลาง ก็จะมีเปลวไฟออกมาโดยรอบ เราสามารถเอาแผ่นฟลอยด์มาปิดโดยรอบ เพื่อกันลม และเอาไม้แขวนเสื้อที่เป็นโลหะมาตัด ทำเป็นโครงสำหรับวางภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ สามารถอุ่นน้ำขนาด 4 แก้วให้เดือดได้ ภายใน 7-8 นาที ไว้ต้มน้ำสะอาด หรือจะต้มมาม่าก็ได้ เป็นวิชาอยู่รอดในคราวคับขันค่ะ เรียนรู้ไว้ค่ะ

DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม Step 9


DIY เตาแอลกอฮอล์จากกระป๋องน้ำอัดลม FUS9H1DFX556Y9P MEDIUM



 ที่มา  :   http://www.iurban.in.th/diy/diy-alcohol-stove/

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผู้ว่าฯ กทม.แจ้งเตือนครั้งแรก เขตบางเขน เป็น 1 ใน 7 เขต อาจเกิดน้ำท่วม

  
                ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ) ประกาศให้เขตบางเขนเป็น1ใน7เขตเสี่ยงน้ำท่วม. เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:27:00 น.  7 เขต ประกอบไปด้วย เขตสายไหม บางเขน คลองสามวา หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง และ คันนายาว เป็นพื้นที่เสี่ยง
    โรงเรียนในสังกัด กทม.ที่อยู่ในเขตเสี่ยงภัย ให้เลื่อนการเปิดเทอมออกไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย 

ข้อควรปฏิบัติ

         1. เก็บทรัพย์สินขี้นที่สูง
      2. ตรวจดูปลั๊กไฟ  กรณีมิเตอร์จมน้ำแล้ว แนะนำให้สับสะพานไฟในบ้านลงทันที ผู้สับต้องอยู่ในที่แห้ง  และแจ้ง Call Center ของการไฟฟ้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 1129 ให้ตัดไฟเพื่อความปลอดภัย
      3. เตรียมสิ่งของมีค่าและจำเป็น พร้อมไว้สำหรับออกจากบ้านได้ทันที กรณีทางราชการสั่งอพยพ
      4. ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนจาก กทม. อย่างใกล้ชิด
      5. หากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ให้ติดต่อที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางเขน เพื่อขอรับความช่วยเหลือ โดยสำนักงานเขตบางเขนได้จัดเตรียมโรงเรียนในพื้นที่เป็นศูนย์รองรับ(พักพิง) ผู้ประสบภัยไว้พร้อมแล้ว ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 02 5210666 ต่อ 5886

ข่าวสารแนะนำ


นักวิชาการแนะทางรอด

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เตือนภัย...พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

เตือนภัย...พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขนของขึ้นที่สูง

เสียงเตือนจาก....ศศิน  เฉลิมลาภ   เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร



                ดูแผนที่พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมที่วิเคราะห์ โดย กลุ่มบริษัท Team consulting ที่มีประสบการณ์ความชำนาญในวิชาชีพ ด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี

รูปที่ 1

TEAM GROUP เตือนภัยน้ำท่วม

วันที่ 12 ตุลาคม 2554 เวลำ 12.30 น.

                 ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมกลายเป็นปัญหาสาคัญและเร่งด่วนที่ทำให้ทุกฝ่ายวิตกกังวลถึงความรุนแรง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทาให้ไม่สามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

                 ด้วยประสบการณ์ความชำนาญในวิชาชีพด้านการบริหารจัดการน้ำมากว่า 30 ปี กลุ่มบริษัททีมพร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รวบรวม และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ และได้จัดทำแผนที่แสดงพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในระดับต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้

                  1. พื้นที่น้ำท่วมปี 2554 : พื้นที่น้ำท่วมถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554 แสดงไว้ในรูปที่ 1

                  2. พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ซึ่งมีระดับความเสี่ยงและข้อควรปฏิบัติดังนี้

                     
  2.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 (เสี่ยงสูงสุด) 


                            (1) เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันพระราชดาริ จะมีสภาพการท่วม
เช่นเดียวกับปี 2538 แต่ระดับน้ำสูงกว่า ประมาณ 0.50 เมตร น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1- 2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือนจำเป็นต้องอยู่กับน้าให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น 


                            (2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะเป็นทางที่น้าจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้าป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้าเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต

คันป้องกันน้าท่วมต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ารั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้าท่วมสูง 1.0 ถึง 2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่าของแต่ละพื้นที่

                           (3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้าท่าจีน


                           (4) การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูง ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

                     
2.2 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 ( สนามบินสุวรรณภูมิน้ำไม่ท่วม) 
                          (1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด)
เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม (ต้องสู้กับน้ำ) หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าว และติดตามระดับน้าในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้
น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน 
                          (2) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่พื้นที่
ฝั่งตะวันออกของอำเภอเมืองปทุมธานี
อำเภอคลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี 
                         

                          (3) พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้าเจ้าพระยา พื้นที่อำเภอสามพรานที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้าท่าจีน อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองสมุทรสาครที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง 
                          (4) การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูง
และติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

                    2.3 พื้นที่เสี่ยงน้าท่วม ระดับที่ 1 

                         
                          (1) เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง เป็นพื้นที่น้ำไม่ท่วมในปี 2538 แต่มีความเสี่ยงที่จะท่วมได้ในปี 2554 นี้ได้แก่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัดนนทบุรี และพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น                          

                          (2) พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร

                          (3) ในการเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าว และเฝ้าระวัง


วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์น้ำท่วมชุมชนเขตบางเขน

ทีมงานฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ เขตบางเขน

ชุมชนสุขฤดี
ในบ้านค่ะ มีสองชั้นแต่พี่เขาห่วง(ลูก)ไก่
ท่วมทั้งซอยเลยค่ะ รถเล็กเข้าไม่ได้นะคะ
ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนเพชรสยาม
ปิดชั่วคราวค่ะ


ชุมชนอนันต์สุขสันต์รุ่น 18-20 (ปลายซอย)
ทำพนังกันน้ำกันเข้าบ้าน

เข้าบ้านแล้ว ด้ายหลังเป็นที่นา เขตสายไหม แย่เหมือนกัน

บ้านคุณยายมีคลองรอบบ้านเลยค่ะ แต่ก็ได้เตรียมพร้อมสู้ศึกครั้งนี้

ชุมชนวัออาวุธ
ท่วมทั้งชุมชน
น้ำเริ่มส่งกลิ่น
ชุมชนน่ารักมาก เก็บของขี้นที่สูงแล้ว ให้เขตไปช่วยเหลือชุมชนอื่นๆ ที่ลำบากจริงๆ
ชุมชนลำชะล่า(โคกบ่าว-สาว)
เด็กๆ  สนุกกันใหญ่เลย

กรรมการชุมชนฯ หาเศษไม้ที่พอมีทำทางเดินได้บางส่วน ที่เหลือเขตจะรับมาดำเนินการเองค่ะ

บ้านหลังในสุด อยู่ไม่ได้แล้วค่ะ น้ำท่วมถึงที่นอนแล้ว

คุณยาย(เจ้าของบ้านหลังข้างบน) อยู่ไม่ได้แล้วค่ะ ต้องย้ายไปอยู่กับลูกสาวที่ กม 8 ค้า....

ทางเข้าชุมชนร่วมใจพัฒนาเหนือ (ตลาดไทยณรงค์ สะพานใหม่)


ระดับน้ำเสมอตลิ่ง หลังไหนต่ำกว่าตลิ่งก็ท่วมค่ะ

หลังนี้ยังไม่คลายโศกจากไฟ้ไหม้มาเจอน้ำท่วมอีก...เศร้าค่ะ

หมู่บ้านจินดาทาวน์ (ไม่ได้เป็นชุมชนตามระเบียบ กทม.)
น้ำขังส่งกลิ่นรุนแรงมาก ด้านหลังชุมชนติดบึงพระยาสุเรนทร์ น้ำไปไหนไม่ได้เลยค่ะ


ชุมชนเกษตรก้าวหน้าลำรางหนองกง
อยู่ไม่ได้แล้ว ไปอยู่ศูนย์พักพิงโรงเรียนวัดบึงพระยาสุเรนทร์แล้วค่ะ

รถเล็กเข้าไม่ได้ (สูงสุดประมาณเอว) แต่ที่นี่มีรถอีแต็นค่ะ


มารับถุงยังชีพฯ
น้ำท่วมสูงมาก ต้องตั้งเต็นแจกถุงยังชีพฯ 105 ครอบตรัว บนสะพาน

ผอ.วัชราภรณ์  กวยะปาณิก  ให้กำลังใจผู้ประสบภัยฯ

ทีมงานยังสู้ค่ะ