วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนสามัญ

 
อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนสามัญ
(แก้ไขเพิ่มเติมใหม่)
 
ที่มาhttp://www.opm.go.th/opminter/uniform/epaulette1.html

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ

บริการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ


หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินกองทุนฯ  

           การบริการให้คนพิการ และผู้ดูแลคนพิการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ รายละไม่เกิน 40,000 บาท รายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย

 การกู้ยืมเงินรายบุคคล

คุณสมบัติของผู้พิการกู้ยืมเงินกองทุนฯ

            1.มีบัตรประจำตัวคนพิการ
        2.มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
        3.มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
        4.บรรลุนิติภาวะ
        5.มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
        6.ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
        7.กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
        8.ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกันผู้ดูแลคนพิการกู้ยืมเงินกองทุนฯ

คุณสมบัติของผู้ดูแลคนพิการ กู้ยืมเงินกองทุนฯ

        1. มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
        2.มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
        3.บรรลุนิติภาวะ
        4.มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
        5.ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
        6.กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
        7.ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน
        8.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
        9.ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำนันผู้ใหญ่บ้านผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สินจากกองทุน

เอกสารประกอบการยื่นกู้ยืมเงินกองทุนฯ

           1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ
        2.สำเนาทะเบียนบ้าน
        3.แผนผังที่อยู่อาศัย แผนผังสถานที่ประกอบอาชีพ
        4.สำเนาหนังสือสัญญาเช่าบ้าน (ในกรณีที่ผู้กู้เช่าบ้านอยู่)
        5.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
        6.หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน (เว้นแต่เป็นเกษตรกร)
        7.หนังสือรับรองว่าเป็นผู้อุปการะคนพิการ(ในกรณีเป็นผู้ดูแลคนพิการ)
        8.ประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพที่ขอกู้
        9.ใบรับรองแพทย์ (กรณีคนพิการมีสภาพความพิการร้ายแรง และผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ)
      10.รูปถ่ายเต็มตัวผู้กู้
      11.สำเนาสมุดเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น


การกู้ยืมเงินรายกลุ่ม

คุณสมบัติของกลุ่มผู้พิการยืมเงินกองทุนฯ

          1. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
       2.มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
       3.มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
       4.บรรลุนิติภาวะ
       5.มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
       6.ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
       7.กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
       8.ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน
       9.เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ ทั้งนี้ ต้องมีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า  สองคน
      10.มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน
      11.ดำเนินกิจการของกลุ่มในท้องที่จังหวัดที่ยื่นคำขอต่อเนื่องจนถึงวันยื่นคำขอแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน
      12.ได้รับการรับรองเป็นหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการที่เป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีผลงานน่าเชื่อถือจริง
      13.มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน

คุณสมบัติกลุ่มผู้ดูแลคนพิการกู้ยืมเงินกองทุนฯ

         1.มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคำขอ
         2.มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
         3.บรรลุนิติภาวะ
         4.มีชื่อในทะเบียนบ้านหรือถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
         5.ไม่มีประวัติเสียหายในการกู้ยืมเงินจากกองทุน เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
         6.กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
         7.ความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืมได้และมีบุคคลที่น่าเชื่อถือได้เป็นผู้ค้ำประกัน
         8.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
         9.ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กำนันผู้ใหญ่บ้านผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ข้าราชการระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สินจากกองทุน
      10.เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน หรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้ ทั้งนี้ ต้องมีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่าสองคน
     11.มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน
     12.ดำเนินกิจการของกลุ่มในท้องที่จังหวัดที่ยื่นคำขอต่อเนื่องจนถึงวันยื่นคำขอแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน
     13.ได้รับการรับรองเป็นหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการที่เป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีผลงานน่าเชื่อถือจริง
     14.มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน

เอกสารประกอบการยื่นกู้ยืมเงินกองทุนฯ

        1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวคนพิการ
       2.สำเนาทะเบียนบ้าน
       3.แผนผังที่อยู่อาศัยของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน แผนผังสถานที่ประกอบอาชีพของผู้กู้
       4.โครงการประกอบอาชีพของกลุ่ม
       5.หนังสือสัญญาเช่าบ้าน (ในกรณีที่ผู้กู้เช่าบ้านอยู่)
       6.สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
       7.หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน
       8.หนังสือรับรองขององค์กรคนพิการหรือองค์กรเพื่อคนพิการ
       9.หนังสือรับรองว่าเป็นผู้อุปการะคนพิการ(ในกรณีเป็นผู้ดูแลคนพิการ)
     10.ใบรับรองแพทย์ (กรณีคนพิการมีสภาพความพิการรุนแรง และผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ)
     11.รูปถ่ายเต็มตัวผู้กู้
     12.สำเนาสมุดเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น


สถานที่ยื่นขอกู้ยืมเงินกองทุนฯ 

                    ผู้ที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงินจะต้องไปติดต่อยื่นคำร้องด้วยตนเองที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ หรือจังหวัดที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่ ดังนี้


กรุงเทพมหานคร  

ยื่นคำร้องที่ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 1-12

     • ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 1
ที่ตั้ง 255 อาคารดรุณวิถี บ้านราชวิถี ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400
โทรศัพท์ 0 2306 8931 โทรสาร 0 2306 8931


     • ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 2
ที่ตั้ง 2026/100 ถนนประชาสงเคราะห์ 37 เขตดินแดง กทม. 10400
โทรศัพท์ 0 2277 5032 โทรสาร 0 2277 5031


     ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 3
ที่ตั้ง 599 ชั้น 6 สำนักงานคลองเตย ถนนอาจณรงค์ เขตคลองเตย กทม. 10110
โทรศัพท์ 0 2249 1972-3 โทรสาร 0 2249 1972


     ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 4
ที่ตั้ง 722 ศูนย์ชุมชนบ้านเอื้ออาทรลาดกระบัง 1 ถนนหลวงเแท่ง เขตลาดกระบัง กทม. 10520
โทรศัพท์ 0 2364 8384-6 โทรสาร 0 2364 8384


     ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 5
ที่ตั้ง 2026/100 ถนนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง กทม. 10400
โทรศัพท์ 0 2277 0641 โทรสาร 0 2277 2528


     ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 6
ที่ตั้ง 378 หมู่ 4 อาคารศูนย์ชุมชน บ้านเอื้ออาทรสายไหม ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กทม. 10220
โทรศัพท์ 0 2159 4334-6 โทรสาร 0 2159 4338


    ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 7
ที่ตั้ง 3/14 ซอยโยธินพัฒนา ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตลาดพร้าว กทม. 10230
โทรศัพท์ 0 2538 1665 โทรสาร 0 2038 1665


    ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 8
ที่ตั้ง ชั้นล่าง แฟลต 6 เคหะชุมชนบางชัน ถนนเสรีไท แขวงบางชัน เขตมีนบุรี กทม. 10510
โทรศัพท์ 0 2540 7760 โทรสาร 0 2540 7722


    ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 9
อาคารโรงพิมพ์ ร.ส.พ. (เดิม) ถนนเพชรเกษม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม. 10160
โทรศัพท์ 0 2472 4640-3 โทรสาร 0 2472 6442


ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 10
อาคารโรงพิมพ์ ร.ส.พ. ถนนเพชรเกษม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กทม. 10160
โทรศัพท์ 0 2472 4250-51 โทรสาร 0 2472 4249


• ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 11
ที่ตั้งศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค 813 ถนนเพชรเกษม ก.ม. ที่ 11 หมู่ 15 แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. 10160
โทรศัพท์ 0 2413 3139 โทรสาร 0 2413 3139


• ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชนเขต 12
ที่ตั้ง ติดกับโรงเรียนศึกษานารี 2 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม.
โทรศัพท์ 0 2450 3670-1 โทรสาร 0 2450 3970


ส่วนภูมิภาค   
          ยื่นคำร้องที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด

ที่มา :  http://www.nep.go.th/index.php?mod=service_fund&group=2








วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ การขึ้นทะเบียนผู้พิการ

การขึ้นทะเบียนผู้พิการรายใหม่


คุณสมบัติ
         ๑. มีสัญชาติไทย
      ๒. มีบัตรประจำตัวผู้พิการ (ติดต่อทำได้ที่ ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพเขต ๖
  โทร. ๐๒ ๑๕๙ ๔๓๓๔ - ๖ และ ๘ )
      ๓. มีทะเบียนบ้านอยู่ในพื้นที่เขตบางเขน
      ๔. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐตามบัญชีรายชื่อที่ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมกำหนด
      ๕.  กรณีเป็นผู้ต้องขังหรือจำคุก หรืออยู่ในสถานพินิจฯ , ศูนย์ฝึกอบรมเด็กของกรมพินิจฯ ให้ยื่นลงทะเบียนต่อผู้บัญชาการเรือนจำ หรือ ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ


หลักฐาน
      ๑.บัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมสำเนา  จำนวน ๑ ชุด
      ๒. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแลคนพิการพร้อมรับรองความถูกต้อง  จำนวน ๑ ชุด
      ๓. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย  จำนวน ๑ ชุด


วัน เวลา และสถานที่
      ในวันที่ ๑ - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
      วัน และ เวลาราชการ
      ณ อาคาร ๓ ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางเขน

ข่าวประชาสัมพันธ์ การขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่

การขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่
คุณสมบัติ       
        ๑. มีสัญชาติไทย และมีทะเบียนบ้านในพื้นที่เขตบางเขน
        ๒. มีอายุ ๖๐ ปีบริบูรณ์ (เกิดก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๕)
        ๓. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงาน ของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษหรือเงินอื่นไดในลักษณะเดียวกัน
ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน
ค่าตอบแทนรายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ


หลักฐาน     
      ๑. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา  จำนวน ๑ ชุด
      ๒. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา   จำนวน ๑ ชุด
      ๓. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา  จำนวน ๑ ชุด



วัน เวลา และสถานที่
     ในวันที่ ๑-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
      เวลาราชการ
     ที่อาคาร ๓ ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางเขน